เราสามารถทำประกันอะไรได้บ้าง ?

ทำประกัน

หากว่ากันด้วยเรื่องของประกันแล้วนั้น..หลายๆ ท่านก็คงอาจจะนึกรำคาญและเบื่อหน่ายกับการโทรมาขายประกันจากค่ายต่างๆ ทั้งในช่วงเวลาพัก ช่วงเวลาทำงานหรือหลังเลิกก็มีเช่นกัน แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า..การทำประกันสักฉบับหนึ่ง อาจเป็นผลดีและประกันความเสี่ยงของท่านในอนาคตได้ เพราะทุกอย่าง “เราไม่สามารถควบคุมได้” บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “การทำประกันที่น่าสนใจ” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เราไปดูกันดีกว่าครับ

ประกันคืออะไร

ประกัน หรือ การประกันภัย (Insurance) คือ ทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ที่ได้ทำประกันภัยไว้ ด้วยการเฉลี่ยหรือการกระจายความเสียหายไปยังสมาชิกที่ทำประกันภัย โดยมีบริษัทประกันภัยเป็นผู้ทำหน้าที่เก็บเบี้ยประกันและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งเมื่อมีการตกลงทำประกันภัยแล้ว มีผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัยอยู่ 3 ฝ่าย ได้แก่….

●ผู้รับประกันภัย (Insurer) เป็นบริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยจากภัยที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขในสัญญา

●ผู้เอาประกันภัย (Insured) หรือผู้ถือกรมธรรม์ (Policy Holder) เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ มีหน้าที่ส่งเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัยจนครบกำหนดตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา

●ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary) เป็นบุคคลที่ถูกระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ให้เป็นผู้ได้รับค่าสินไหมทดแทน ซึ่งผู้รับผลประโยชน์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย

ประกันมีอะไรบ้าง?

การประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การประกันชีวิต (Life Insurance) (click ชื่อแล้วให้ link ไปยังหัวข้อ ประกันชีวิต)และการประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) ซึ่งสามารถยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้

การประกันภัยบุคคล (Insurance of the person)

เป็นการประกันภัยเกี่ยวกับภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือที่เกิดกับบุคคล ได้แก่ การประกันชีวิต, การประกันอุบัติเหตุ, การประกันสุขภาพ

การประกันภัยทรัพย์สิน (Property Insurance)

เป็นการประกันที่บริษัทผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกัน ได้แก่เป็นการประกันที่บริษัทผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกัน ได้แก่ การประกันอัคคีภัย, การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง, การประกันภัยรถยนต์, การประกันภัยเบ็ดเตล็ด

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำประกันต่างๆ

ด้านการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของผู้เอาประกันภัย การประกันชีวิตสามารถช่วยสร้างความมั่นคงของรายได้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้ ในกรณีการทำประกันคุ้มครองการเจ็บป่วย หรือการประกันอุบัติเหตุ ผู้เอาประกันภัยจะได้เงินทดแทนเพื่อใช้ในการเลี้ยงชีพในกรณีทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงได้

ด้านการให้ความคุ้มครอง การประกันชีวิตจะให้ประโยชน์ในด้านความคุ้มครอง กรณีที่ผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาให้แก่ทายาทหรือผู้รับประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย เพื่อให้ครอบครัวของผู้เอาประกันภัยมีเงินเลี้ยงชีพต่อไปโดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัย

ด้านการออมทรัพย์ ลักษณะการออมของการทำประกันภัยนั้นจะเป็นในลักษณะแบบกึ่งบังคับ โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องแบ่งรายได้ของตนส่วนหนึ่ง เพื่อนำมาชำระเบี้ยประกันภัยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการประหยัดเพื่อการออมทรัพย์

ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ที่ทำประกันชีวิตก็สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตมาใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับแบบทั่วไป และ 200,000 บาทสำหรับแบบบำนาญ

และนี้คือข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับ “การทำประกัน” ต่างๆ ที่เราได้หามาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความนี้ หวังว่าจะเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์กันนะครับ